วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

น้ำหอมกับมนุษย์(วิจัยขั้นพื้นฐาน )


มนุษย์กับน้ำหอม ตลอดวันเช้าและเย็นในช่วงชีวิตของเรา เราได้ดมเอากลิ่นต่างๆโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เราหายใจเข้าออกเป็นประจำ ซึ่งดูดรับเอาโมเลกุลของเคมีซึ่งมีปฏิกิริยาต่อตัวรับกลิ่นของเรา เราจะรู้สึกถึงกลิ่นหอม, เหม็น หรือกลิ่นฉุนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในการที่เราได้รับรู้ถึงกลิ่นที่ว่า ทำให้เกิดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆว่า เราดมได้อย่างไร ทำไมกลิ่นและน้ำหอมจึงมีผลต่อเรา? ทำไมเราถึงพึ่งจะศึกษาสิ่งเหล่านี้?

จนกระทั่งเมื่อปี 1983 ได้มีการทดสอบและวิจัยขั้นพื้นฐาน ของการสัมผัสกลิ่นของคนเราโดย National Institutes of Health (NIH) ซึ่งก็ไม่ได้รับทุนในการวิจัยมากพอควร ซึ่งจากที่ Dr. Solomon H. Snyder, นักวิทยาศาสตร์ทางด้านประสาทสัมผัสที่ Hopkins University School of Medicine ว่าไว้ "NIH จะไปสนอะไรเพราะว่าไม่มีคนตายเพราะการดมกลิ่นมากจนเกินไป"ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ทำให้เกิดการตื่นตัวในวงการในการวิจัยเกี่ยวกับกลิ่นที่คนเราได้รับจะมีผลอะไรกับพฤติกรรมบ้าง เราได้รับกลิ่นได้อย่างไร?

เมื่อเราสูดอากาศ อากาศจะผ่านเข้ารูจมูก และเข้าไปยังพื้นที่ที่มีขนาดเท่าแสตมป์ซึ่งบรรจุไปด้วย เซลล์ตัวรับเป็นล้านๆตัว ซึ่งเรียกว่า Olfactory Epithelium ถ้าอากาศที่เราสูดเข้าไปมีโมเลกุล ของน้ำหอมอยู่ด้วย โมเลกุลเหล่านั้นจะไปเกาะอยู่กับของเหลวข้นๆรอบ epithelium ใยของตัวเซลล์รับ (Receptor) จะยื่นออกไปจับกับโมเลกุลน้ำหอมที่ว่าผ่านจากตอนล่างของเซลล์เมื่อใยที่ว่าไปสัมผัสกับโมเลกุลน้ำหอมแล้วก็จะเกิดการส่งรหัสและคลื่นไปยังระบบประสาทของเราและจะไปสิ้นสุดที่สมองต่างๆของเรา

โดยรวมถึงสมองส่วนกลางและเยื่อหุ้มสมองด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นกล้วย จนถึงกลิ่นดอกกุหลาบ แต่ละกลิ่นจะทำให้เกิดการส่งรหัสหรือการผ่านคลื่นไปตามแบบของกลิ่นนั้นๆ ดังนั้นคนเราเองแต่ละคนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน น้ำหอมบางกลิ่นอาจจะทำให้คนคนหนึ่งสงบ แต่อาจจะให้ความรู้สึกอีกคนหนึ่งที่ต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการศึกษาอย่างละเอียดมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น